คำว่า "ปอยหลวง" แปลว่า ฉลอง และ "หลวง" แปลว่า ใหญ่โต ดังนั้นงานปอยหลวงจึงหมายถึง งานฉลองที่ใหญ่โต ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฎิบัติของชาวเหนือมาช้านานแล้ว งานปอยหลวง คือ งานฉลองสมโภชวัด เช่น สร้างกุฎิใหม่ สร้างพระวิหารหลวงใหม่ สร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ หรือปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ใหม่ เป็นต้น
เมื่อมีการสร้างกุฎิใหม่ หรือปฎิสังขรณ์พระเจดีย์ใหม่ หรือศาสนสถานอื่นๆ เสร็จแล้วก็จะมีการฉลองอันยิ่งใหญ่เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๗ วัน โดยจะมีการบอกบุญไปยังวัดใกล้เคียงอีกด้วย อนึ่ง สิ่งที่ถือเป็นธรรมเนียมของงานปอยหลวงนั้นคือ เมื่อวัดต่างๆ ได้รับใบฎีกา (ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ใบฎีกาแผ่นหน้าบุญ) แล้วจะปฎิเสธไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นมารยาทที่จำเป็นจะต้องไปร่วมงานปอยหลวงนั้น และเมื่อวัดอื่นๆ ทราบข่าวก็จะมีการบอกบุญไปยังชาวบ้าน จากนั้นเจ้าอาวาสวัดก็จะรวบรวมจตุปัจจัยไทยทานต่างๆ และจัดเป็นขบวนแห่งไปยังวัดที่มีงานปอยหลวง ซึ่งขบวนแห่งเครื่องไทยทานของวัดต่างๆ นั้น เรียกว่า "แห่ครัวทานเข้าวัด" อีกทั้งยังมีการประกวดขบวนแห่งของวัดต่างๆ อีกด้วย
พิธีกรรมของงานปอยหลวงจะจัดขึ้นก่อนถึงวันจริง ๑ วัน เรียกว่า "วันดา" โดยชาวบ้านจากหมู่บ้านใกล้เคียงจะนำสิ่งของที่เตรียมไว้ไปถวายวัดที่จะจัดงานปอยหลวง เรียกสิ่งของเหล่านี้ว่า "ครัวทาน" หรือ "ครัวตาน" ส่วนวัดที่จัดงานปอยหลวงจะมีการจัดทำธงและนำไปปักบริเวณรอบวัดและทางเข้าวัด ในตอนเย็นจะมีการนิมนต์พระอุปคุตมาไว้ที่หออุปคต เพราะมีความเชื่อว่าพระอุปคุตจะคุ้มครองและป้องกันภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้ในช่วงที่มีการจัดงาน
พอถึงวันแรกของงานปอยหลวง ชาวบ้านจะนำเครื่องไทยทานมาไว้ที่วัด วันที่สองของงานชาวบ้านจากวัดอื่นๆ จึงจะแห่เครื่องไทยทานมายังวัดที่มีงานปอยหลวง ส่วนชาวบ้านของวัดที่จัดงานหรือเจ้าภาพจะเตรียมอาหารคาวหวานไว้ต้อนรับผู้ที่มาจากวัดอื่นๆ ในวันสุดท้ายก็จะมีการทำบุญตักบาตรและถวายสิ่งปลูกสร้างที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆ
ด้วยเหตุผลนี้จึงกล่าวได้ว่า งานปอยหลวง เป็นงานบุญที่แสดงถึงความสามัคคีของคนชาวเหนืออย่างน่าชื่นชมที่ถือปฏิบัติกันมาอย่างช้านาน
ประเพณีอู้สาว
คำว่า "อู้" เป็นภาษาภาคเหนือแปลว่า "พูดกัน พูดคุย สนทนากัน" ดังนั้น "อู้สาว" ก็คือ พูดกับสาว คุยกับสาว หรือแอ่วสาว การอู้สาวเป็นการพูดคุยกันเป็นทำนองหรือเป็นกวีโวหาร
การอู้สาวหรือแอ่วสาวจะทำตอนกลางคืนโดยชายหนุ่ม จะไปไหนมาไหนกันเป็นกลุ่มๆ และพูดคุยกันอย่างสนุกสนานเพื่อไปเซาะอู้ (คือการไปคุยกับสาวๆ ตอนกลางคืนช่วงว่างงาน)
ชายหนุ่ม หรือทางเหนือเรียกว่า "บ่าว" แต่ถ้ามีอายุหน่อย เรียกว่า "บ่าวเจื้อ" โดยบ่าวเหล่านั้น จะอู้สาวกับสาวโสดเท่านั้น ถ้าผู้หญิงที่มีเรือนหรือแต่งงานแล้วจะไปออกมาอู้เด็ดขาด
ส่วนสาวๆ เมื่อเสร็จงานตอนกลางวันแล้ว ตกค่ำก็จะรีบอาบน้ำ แต่งตัวสวยงาม แต่ถ้าสาวใดมีงานเล็กๆ น้อยๆ เช่น งานทอผ้าหรืองานปั่นฝ้ายก็จะออกมาทำงานที่หน้าบ้าน แต่จะมีพ่อแม่หรือญาติพี่น้องมานั่งคุยด้วย แต่ถ้ามีบ่าวมาแอ่ว พ่อแม่ก็จะเปิดโอกาสให้ได้คุยกันสองต่อสอง แต่พ่อแม่ส่วนใหญ่จะแอบฟัง หนุ่มๆ สาวๆ ก็จะซูบๆ ซาบๆ กัน
การอู้สาวหรือแอ่วสาวจะทำตอนกลางคืนโดยชายหนุ่ม จะไปไหนมาไหนกันเป็นกลุ่มๆ และพูดคุยกันอย่างสนุกสนานเพื่อไปเซาะอู้ (คือการไปคุยกับสาวๆ ตอนกลางคืนช่วงว่างงาน)
ชายหนุ่ม หรือทางเหนือเรียกว่า "บ่าว" แต่ถ้ามีอายุหน่อย เรียกว่า "บ่าวเจื้อ" โดยบ่าวเหล่านั้น จะอู้สาวกับสาวโสดเท่านั้น ถ้าผู้หญิงที่มีเรือนหรือแต่งงานแล้วจะไปออกมาอู้เด็ดขาด
ส่วนสาวๆ เมื่อเสร็จงานตอนกลางวันแล้ว ตกค่ำก็จะรีบอาบน้ำ แต่งตัวสวยงาม แต่ถ้าสาวใดมีงานเล็กๆ น้อยๆ เช่น งานทอผ้าหรืองานปั่นฝ้ายก็จะออกมาทำงานที่หน้าบ้าน แต่จะมีพ่อแม่หรือญาติพี่น้องมานั่งคุยด้วย แต่ถ้ามีบ่าวมาแอ่ว พ่อแม่ก็จะเปิดโอกาสให้ได้คุยกันสองต่อสอง แต่พ่อแม่ส่วนใหญ่จะแอบฟัง หนุ่มๆ สาวๆ ก็จะซูบๆ ซาบๆ กัน
ประเพณีสู่ขวัญ
ประเพณีสู่ขวัญ หรือภาษาเหนือเรียกว่า "ฮ้องขวัญ" หรือ "สู่ขวัญ" เป็นคติความเชื่อของชาวเหนือ ซึ่งขวัญเป็นนามธรรมที่ล่องลอยอยู่ทั่วไปตามตัวมนุษย์ ถ้ามนุษย์เกิดความกลัวสุดขีดหรือสะดุ้งกลัว ขวัญก็จะหนีออกจากร่างกายทำให้คนนั้นมีอันเป็นไปต่างๆ นานา เจ็บไข้ได้ป่วยตลอด ดังนั้น จำต้องทำพิธีเรียกขวัญหรือสู่ขวัญเพื่อเชิญกลับมา อาการจึงจะเป็นปกติ การเรียกขวัญมีหลายวิธี เช่น
- พิธีเรียกขวัญคนเจ็บไข้ได้ป่วย
- พิธีเรียกขวัญจากการตกใจในเหตุการณ์ต่างๆ
- พิธีเรียกขวัญผู้จากไป หรือผู้เข้ามาใหม่ เป็นต้น
พิธีกรรมประเพณีสู่ขวัญของภาคเหนือ มีขั้นตอนการปฏิบัติ คือ ขั้นแรกจะมีการทำบายศรีก่อน จากนั้นก็จะทำการตัดด้ายสายสิญจน์ใส่ใสพาน และนำเครื่องบายศรี ซึ่งประกอบด้วย ข้าวเหนียว หรือข้าวเจ้า ๑ ถ้วย ไข่ต้ม(ปอกเปลือกแล้ว)๒ ฟอง กล้วย ๒ ใบ ขนม ๒ ชิ้น ผลไม้ ๒ ผล หมากพลูและบุหรี่ อย่างละนิดหน่อยไปวางตรงกลางของพานบายศรี
ต่อจากนั้นจะเป็นการทำพิธีสะเดาะเคราะห์หรือปัดเคราะห์ และเชิญขวัญในเรือนร่างมารับประทานอาหารในพานบายศรี จากนั้นผู้ทำพิธีจะนำด้ายสายสิญจน์ผูกที่ข้อมือผู้ที่จะเรียกขวัญ ก็เป็นอันเสร็จพิธี เมื่อเสร็จพิธีแล้วผู้ที่เรียกขวัญจะต้องเก็บด้ายสายสิญจน์และพานบายศรีไว้ ๓ วัน ๓ คืน เพื่อให้ขวัญคุ้มครอง
นอกจากพิธีเรียกขวัญมนุษย์แล้ว ยังมีการเรียกสัตว์พาหนะหรือที่เรียกว่า พิธีเรียกขวัญควาย
พิธีกรรมของการเรียกขวัญวายกระทำโดยเจ้าของควายนำควายไปอาบน้ำให้สะอาด จากนั้นนำข้าวตอกดอกไม้ใส่กรวยใบตองไปผูกไว้ที่เขาควายทั้งสองข้าง และจัดอาหารอีกชุดหนึ่งคือ ไก่ต้ม ๒ ตัว เหล้า ๑ ขวด ข้าวเปลือก ๑ กระทง ข้างสาร ๑ กระทง ขนมหวาน หมาก พลู บุหรี่ และหญ้าอ่อน ๑ คำ สำหรับทำพิธี จากนั้นผู้ทำพิธีจะจุดธูปและท่องคาถาเสร็จแล้วนำน้ำมนต์ไปประพรมที่ตัวควาย เป็นอันเสร็จพิธีเรียกขวัญ
- พิธีเรียกขวัญคนเจ็บไข้ได้ป่วย
- พิธีเรียกขวัญจากการตกใจในเหตุการณ์ต่างๆ
- พิธีเรียกขวัญผู้จากไป หรือผู้เข้ามาใหม่ เป็นต้น
พิธีกรรมประเพณีสู่ขวัญของภาคเหนือ มีขั้นตอนการปฏิบัติ คือ ขั้นแรกจะมีการทำบายศรีก่อน จากนั้นก็จะทำการตัดด้ายสายสิญจน์ใส่ใสพาน และนำเครื่องบายศรี ซึ่งประกอบด้วย ข้าวเหนียว หรือข้าวเจ้า ๑ ถ้วย ไข่ต้ม(ปอกเปลือกแล้ว)๒ ฟอง กล้วย ๒ ใบ ขนม ๒ ชิ้น ผลไม้ ๒ ผล หมากพลูและบุหรี่ อย่างละนิดหน่อยไปวางตรงกลางของพานบายศรี
ต่อจากนั้นจะเป็นการทำพิธีสะเดาะเคราะห์หรือปัดเคราะห์ และเชิญขวัญในเรือนร่างมารับประทานอาหารในพานบายศรี จากนั้นผู้ทำพิธีจะนำด้ายสายสิญจน์ผูกที่ข้อมือผู้ที่จะเรียกขวัญ ก็เป็นอันเสร็จพิธี เมื่อเสร็จพิธีแล้วผู้ที่เรียกขวัญจะต้องเก็บด้ายสายสิญจน์และพานบายศรีไว้ ๓ วัน ๓ คืน เพื่อให้ขวัญคุ้มครอง
นอกจากพิธีเรียกขวัญมนุษย์แล้ว ยังมีการเรียกสัตว์พาหนะหรือที่เรียกว่า พิธีเรียกขวัญควาย
พิธีกรรมของการเรียกขวัญวายกระทำโดยเจ้าของควายนำควายไปอาบน้ำให้สะอาด จากนั้นนำข้าวตอกดอกไม้ใส่กรวยใบตองไปผูกไว้ที่เขาควายทั้งสองข้าง และจัดอาหารอีกชุดหนึ่งคือ ไก่ต้ม ๒ ตัว เหล้า ๑ ขวด ข้าวเปลือก ๑ กระทง ข้างสาร ๑ กระทง ขนมหวาน หมาก พลู บุหรี่ และหญ้าอ่อน ๑ คำ สำหรับทำพิธี จากนั้นผู้ทำพิธีจะจุดธูปและท่องคาถาเสร็จแล้วนำน้ำมนต์ไปประพรมที่ตัวควาย เป็นอันเสร็จพิธีเรียกขวัญ